ณ ปัจจุบัน ต้นทุนสินค้าและต้นทุนการผลิต มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ในทางกลับกัน ราคาสินค้าต้องปรับราคาลดลง เนื่องจากการแข่งขันที่สูงมาก ผู้ผลิตหลายรายจึงหันมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อเป็นการลดต้นทุน
ซึ่งในกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ ก็จะมีขั้นตอนการบรรจุสินค้า แบบใช้เครื่องบรรจุอัตโนมัติ หรือ แบบให้พนักงานบรรจุ ซึ่งก็จะต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบปริมาณสินค้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด โดยการสุ่มสินค้ามาจำนวนหนึ่ง ในแต่ละช่วงเวลาที่บรรจุ มาทำการตรวจสอบด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก (Static weighting) แต่ก็ยังมักพบปัญหาร้องเรียนเรื่องปริมาณสินค้าอยู่บ่อยครั้ง เพราะว่าเป็นเพียงการสุ่มตัวอย่างเท่านั้น ผู้ผลิตเริ่มได้นำเทคโนโลยีการตรวจสอบน้ำหนักแบบสายพานลำเลียงเข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ โดยการติดตั้งเครื่องชั่งน้ำหนักแบบสายพานลำเลียงหลังจากเครื่องบรรจุอัตโนมัติ หรือ หลังการบรรจุด้วยพนักงาน เปลี่ยนจากการตรวจสอบน้ำหนักแบบสุ่มตัวอย่าง เป็นการชั่งน้ำหนักสินค้าแบบ 100% ตรวจสอบทุกชิ้น ซึ่งเราสามารถกำหนด ค่าน้ำหนักบรรจุที่เราต้องการควบคุมได้ หากเครื่องพบว่า มีสินค้าชิ้นไหน มีน้ำหนักมากกว่า หรือ น้อยกว่าที่กำหนด เครื่องชั่งชนิดนี้ก็จะทำการคัดแยกสินค้าออกจากกระบวนการผลิตทันที และยังสามารถบันทึกน้ำหนักสินค้าทุกชิ้น เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการบรรจุ หรือ เครื่องบรรจุอัตโนมัติได้ตลอดเวลาการใช้งาน และยังสามารถตรวจสอบจำนวนชิ้นได้อีกด้วย
        การกำหนดค่าน้ำหนักให้เหมาะสมในกระบวนการบรรจุ
1. นำสินค้า 1 ชิ้น มาปล่อยผ่านเครื่องชั่งแบบสายพานลำเลียง จำนวน 25 ครั้ง และนำค่าน้ำหนักที่ได้ทั้งหมด หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard division, SD) และนำค่า SD ที่ได้ คูณ 3 ก็จะได้ค่าความถูกต้องของเครื่องชั่ง +/- (3SD)
2. ทำการชั่งน้ำหนักสินค้า จำนวน 20 ชิ้นหรือมากกว่า และบันทึกน้ำหนักแต่ละชิ้น
3. นำค่าน้ำหนักที่บันทึกได้ มาหาค่าน้ำหนักน้อยที่สุด (min), ค่าน้ำหนักมากที่สุด (max)
4. ตั้งค่าน้ำหนักเกิน = ค่าน้ำหนักมากที่สุด + ค่าความถูกต้องของเครื่องชั่ง (3SD)
5. ตั้งค่าน้ำหนักขาด = ค่าน้ำหนักน้อยที่สุด – ค่าความถูกต้องของเครื่องชั่ง (3SD)

ตัวอย่าง การกำหนดค่า Over and Under ที่เหมาะสมให้กับเครื่องชั่ง
– เครื่องชั่งมีสเปกบอกว่า ค่าความถูกต้องอยู่ +/- 5 g ที่ 3SD
– เก็บข้อมูลน้ำหนักการบรรจุสินค้า จำนวน 50 ชิ้น หาค่า Min = 515 g , Max = 530 g

ประโยชน์ที่จะได้รับ
– ตรวจสอบประสิทธิภาพการบรรจุ หรือ เครื่องบรรจุ
– ลดต้นทุนการผลิต
– ลดเวลาในการผลิต
– นำข้อมูลที่บันทึกได้ มาทำการปรับปรุง พัฒนาการบรรจุ
– สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า